คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 7


การเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันที่ 14 ธันวาคม 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.

บรรยากาศในห้องเรียน

 วันนี้เพื่อนๆมานั่งรออาจารย์ที่ห้อง เเต่ซักพักอาจารย์ก็เดินเข้าห้องมา สงสัยอาจารย์ร้อนเลยให้ไปเปิดเเอร์ทั้งๆที่ก็ไม่มีใครปิดเเอร์เลย เพื่อนๆมาเรียนก้ค่อนข้างที่จะน้อยมากกว่าปกติ

การเรียนการสอน

 อาจารย์ได้ส่งกระดาษให้นักศึกษาเขียนชื่อ เเละได้ถามว่าวันที่4ธันวาคมที่ผ่านใครยังไม่ได้เขียนชื่อบ้างที่ไปเต้นแอโรบิค แต่ส่วนมากก้เขียนกันหมดเเล้วยกเว้นคนที่ไม่ไปร่วมกิจกรรมเท่านั้น 
- อาจารย์ได้ถามว่า " เมื่อพูดถึงมาตรฐานจะนึกถึงอะไร "  การวัด การได้รับการยอมรับ หลักเกณฑ์ คุณภาพ 

- มาตรฐานมีความจำเป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถเลือกได้ว่าอะไร ดีอะไรไม่ดีดูได้จากมาตรฐาน
- สสวท. ย่อมาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี
- อาจารย์ได้ถามว่าทำไมเด็กถึงไม่ชอบคณิตศาสตร์นักศึกษาตอบอาจ เป็นเพราะว่า ทัศนคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ การเรียน การสอน การเลี้ยงดูจากพ่อ แม่
- อาจารย์ให้อ่านมาตรฐานในหนังสือ "คู่มือกรอบมาตรฐาน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย" ให้เพื่อนๆฟัง เเละได้อธิบายให้นักศึกษาฟัง
- พอสอนได้ซักพักหนึ่งอาจารย์ก็ไกด้รับโทรศัพย์ให้ไปประชุม ในวันนี้เลยมไม่ได้เรียนครบชั่วโมง
- ให้ไปตัดกระดาษเส้นผ่านศูนกลาง 2 4 6 มาอย่างละเเผ่น (ยกเลิกเเเล้ว)
- และอาจารย์ก็เตือนให้วาดรูปสื่อที่เราจะต้องทำส่งมาทางเมลล์


องค์ความรู้ใหม่

- กรอบมาตรฐานคือ สิ่งที่จะเป็นเเนวทางจะทำให้เราได้จัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องอะไร และจัดอย่างไร 
-  ภาษากับคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญ เราก็ควรที่จะจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสม
- การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กควรนึกถึงพัฒนาการของเด้กว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้างก็จะส่งผลให้เด็กพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
- เเรกเกิด- 6ปีเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด
- เมื่อพูดถึงจำนวน ต้องนึกถึง ค่า


วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 6



การเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 7 ธันวาคม 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.

บรรยากาศในห้องเรียน
 วันนี้อาจารย์มาเร็วมากเเต่ว่ายังมีอาจารย์ที่กำลังสอนก่อนหน้านี้ยังสอนไม่เสร็จ เราเลยต้องรอก่อนตรงหน้าห้องจนกว่าอาจารย์จะออกจากห้อง พออาจารย์ออกจากห้องเราก็รีบเข้าไปเรียนเลยทันที อาจารย์เร่งให้เอางานมาส่ง เพื่อนที่ยังไม่เสร็จก็ดูวุ่นวายรับเร่งทำ อาจารย์ก็เร่งๆ จนอาจารย์บอกว่าใครที่ไม่ส่งอาจารย์ไม่รับแล้ว าอจารย์ก็พูดเรื่องใหม่ไปเรื่อย คนที่ไม่เสร็จก็ไม่สนใจที่อาจารย์พูด

การเรียน การสอน
- พออาจารย์เข้าห้องมา อาจารย์ให้ส่งงาน ใครไม่ส่งอาจารย์ก็ไม่รับแล้ว
- อาจารย์ให้เอากล่องที่แต่ละคนเตรียมมาเอาออกมา เเล้วอาจารย์ถามแต่ละคนว่ากล่องที่ตัวเองเอามาสามารถเป็นอะไรได้บ้าง บางคนก็ตอบว่าหมา หุ่นยนต์ รถไฟ บ้าน รีโมท โทรศัพท์  โทรทัศน์ เป็นต้น เเละอาจารย์ถามว่าจากที่อาจารย์ถามทำให้เราเห็นถึงอะไร นักศึกษาก็ร่วมกันเเสดงความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องของจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- อาจารย์ให้นับว่าคนในห้องมีทั้งหมดกี่คน ให้นับเริ่มต้นตั้งแต่คนเเรกจนถึงคนสุดท้ายมีทั้งหมด 33 คน
เเละห้จัดกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11 คน โดยให้นั่งเป็นกลุ่ม นำกล่องที่เเต่ละคนมีเอามารวมกัน เเละให้วางเป็นอะไรก็ได้ตามที่เราคิด เเละมีเงื่อนไขดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ให้ปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มได้
  • กลุ่มที่ 2 คุยกันได้เพียงครั้งเเรก เเละก็ต่างคนต่างวางกล่อง
  • กลุ่มที่ 3 ห้ามคุยกันเลย
เเต่ละกลุ่มมีการทำงานร่วมกันคนละเเบบผลงานที่ออกมาก็ค่อยข้างที่จะเเตกต่างกัน
- พอทำเสร็จอาจารย์ก็ให้วางบนโต๊ะอาจารย์ กลุ่มของเราทำ หุ่นยนต์ 2012 

ภาพถ่ายประกอบการทำงาน


ถ่ายรูปกับผลงาน " หุ่นยนต์ 2012"

ผลงานทั้ง 3 กลุ่ม

                                          เพื่อนๆก็มาถ่ายเก็บไว้ด้วยเช่นกัน

บรรยากาศในการถ่ายภาพ
- หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามว่าสิ่งที่เหลือใช้ที่จะนำมาทำเป็นสื่อคณิตศาสตร์ได้เพื่อนๆก็ต่างได้เเสดงความคิดเห็นร่วมกัน เช่น หลอดกาเเฟ กล่อง เเผ่น CD ปฏิทิน เศษผ้า ฝาขวดน้ำ กระดุม ไม้ไอศกรีม ถ้วยบีโบ้ กล่องนม ถุงขนม กระดาษ ขวดน้ำ กระป๋องน้ำอัดลม  เเละอาจารย์ถามว่าเเต่ละอย่างสามารถเอา
มาทำสื่ออะไรได้บ้าง
- อาจารย์ให้ลิสชื่องานวิจัยที่เเต่ละกลุ่มได้หามาว่าสามารถมีเรื่องอะไรที่ใช้ได้กับวิชานี้หรือไม่

ใจความสำคัญ 

" เมื่อเด็กมีประสบการณ์มาก เด็กจะมีข้อมูลมาก จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เยอะ ยิ่งมีประสบการณ์เยอะ การเเสดงออกก็จะเยอะ"




วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 5




การเข้าเรียนครั้งที่ 5


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.


บรรยากาศในห้องเรียน


  วันนี้อาจารย์ดูเหมือนค่อนข้างที่จะยุ่งกับงานพอสมควร อากาศภายในห้องก็ดีเหมาะกับการเรียนเป็นอย่างมาก เพื่อนทุกคนพูด คุยกันอย่างสนุกสนาน ก่อนที่อาจารย์จะมา เเละเมื่ออาจารย์เข้ามาในชั้นเรียนเพื่อนๆทุกคนเงียบเเบบอัตโนมัติ เหมือนรู้ว่าเมื่ออาจารย์เข้ามาต้องเงียบ  

                       - ตัวเลข                      

                      - การจับคู่                     

                     - การจัดประเภท                      

                     - การเปรียบเทียบ                       

                     - การจัดลำดับ                  

                    - รูปทรงเเละเนื้อที่                   

                    - การวัด                      

                   - เซต                     

                  - เศษส่วน                    

                  - การทำตามเเบบหรือลวดลาย                   

                  - การอนุรักษ์

การเรียน การสอน

1.อาจารย์ได้เข้าบทเรียนเลยเริ่มจาก เปิดword ให้ดูในเรื่องขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาตร์ในระดับปฐมวัย ศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อ  เนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา ประพฤติกิจ 2541:17-19)                         - การนับ  
              


                - ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางภาษา
                - การจับคู่ 
                - การจัดประเภท ต้องมีการกำหนดประเภท ต้องตั้งเกณฑ์เดียวสำหรับสอน 
                - การเปรียบเทียบ ต้องหาค่าปริมาณ เด็กเล็กไม่สามารถบวก ลบได้ เพราะพัฒนาการยังไม่ถึง 
                - การจัดลำดับ ต้องหาค่าเเละมาเปรียบเทียบ เเละเอาค่ามาเรียง
                - รูปทรงเเละเนื้อที่
                - การวัด การหาค่าที่เป็นปริมาตร ต้องนึกถึงหน่วย
                - เซต ต้องสอนเซตอย่างง่ายๆ
                - เศษส่วน ต้องนึกถึงทั้งหมด ต้องแบ่งอย่างละเท่าๆกัน
                - การทำตามเเบบหรือลวดลาย 
                - การอนุรักษ์ 

เยาวพา เดชะคุปต์( 2542 : 87-88 ) ได้เสนอการสอนเเนวใหม่ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
               - การจัดกลุ่มหรือเซต 
               - จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
               - ระบบจำนวน
               - ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
               - คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
               - ลำดับที่ 
               - การวัด 
               - รูปทรงเรขาคณิต ได้เเก่ การเปรียบเทียบ รูปร่าง ขนาด ระยะทาง 
               - สถิติและกราฟ ได้เเก่ การศึกษาจากการบันทึกทำเเผนภูมิ
ซึ่งก็มีทั้งความเหมือนเเละเเตกต่างกัน

งานที่ต้องรับผิดชอบ
  •   จับคู่เเละนำขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาตร์ในระดับปฐมวัย ศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อ  เนื้อหาหรือทักษะ นิตยา ประพฤติกิจ ตั้งเเต่ข้อเเรกจนถึงข้อสุดท้่ยมาเขียนตัวอย่างสิ่งที่จะสอนเด็กในกิจกรรมนั้น ส่งสัปดาห์หน้า


                           


วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 4



การเข้าเรียนครั้งที่ 4



วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.



วันนี้ไม่มีการเรียน การสอน เพราาะว่ามีกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์ มีกิจกรรมกันตั้งเเต่เช้าเลยนะ เขาก็จะแบ่งสีเราให้ทำหน้าที่ของเเต่ละคน คนที่ไปร่วมขบวนพาเหรดก็ต้องเดินกันรอบมหาวิทยาลัย ส่วนคนที่เป็นกองเชียร์ก็ต้องขึ้นสเเตนเชียร์รอ เพื่อร่วมในพิธีเปิด ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่เราเราให้ดีที่สุด ถึงแม้วันซ้อมอาจจะมีอุปสรรค เเต่ก็วันจริงพวกเราจะเต็มที่ผลออกมายังไงก็อย่าว่ากันนะ

บรรยากาศในงาน

นี่ขบวนพาเหรดสีส้ม








 อากาศในวันนี้ค่อนข้างที่จะมีทุกฤดู เเดดบ้าง ฝนบ้างปะปนกันไป แต่ก็อย่างว่าจะไม่มีอุปสรรคใดมาขวางกั้นเราได้อย่างเเน่นอน พอพิธีเปิดเสร็จก็มีการเเข่งขันกรีฑา หลายสีก็พลัดกันเเพ้ผลัดกันชนะบ้างตามเเบบฉบับของการเเข่งขันกีฬา แต่ก็เชียร์กันอย่างสนุก สนาน  เเละวันนี้ฉันกับเพื่อนก็ได้เป็นตัวเเทนสีส้มไปเเข่งวิ่งเปรี้ยวด้วย วิ่งแทบจชนกันหัวแตก ผลสุดท้ายก็ได้เเค่ที่2 ถึงแม้จะชนะในรอบเเรกก็ตามเพราะมาเเพ้รอบชิงไง ไม่เป็นไร แค่สนุก กับเพื่อน เเละได้ร่วมกิจกรรมก็พอเเล้ว  












กิจกรรมที่มีจัดในวันนี้คือ

การเเข่งขันกีฬา-กีฑา การเเข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น วิ่งเปี้ยว ซักคะเยอการประกวดขบวนพาเหรดการประกวดกองเชียร์การประกวดเชียร์หลีดเดอร์

ซึงสีส้มของเราได้ถ้วยรวมเยอะที่สุดเลย เห็นไหมว่าถ้าเรารวมพลังกันทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งเเล้วไม่อยากเกินความสามารถเราเเน่นอน  เเละงานวันนี้ก็ลุล่วงไปด้วยดี ด้วยรอยยิ้มเเละมิตรภาพความเป็นพี่ เป็นน้อง เเละความเป็นเพือ่นที่ทุกคนได้มอบให้เเก่กัน





วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่3


การเข้าเรียนครั้งที่ 3 




วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.



บรรยากาศในห้องเรียน

  วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม ในการจัดกลุ่มเลยทำความมีความวุ่นวายเล็กน้อย  และก็มีเสียงดังเพราะเกิดจากการลากโต๊ะของเพื่อนทั้งๆที่อาจารย์ก็บอกว่าอย่าลากแต่ก็อย่างว่า คนเยอะมีทั้งคนปฎิบัติตามและไม่ปฎิบัติตาม และวันนี้เเต่ละกลุ่มก็ได้ตั้งใจคิดเเละทำงานที่ได้รับมอบหมายตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดไว้ เเละระหว่างการทำงานนั้นเพื่อนทุกคนเเละรวมทั้งฉันด้วยนั้นก็มีข้อสงสัยมากมายในการทำงานเเละต้องถามอาจารย์เพื่อให้งานนั้นสำเร็จไปได้ อาจารย์ก็อธิบายอย่างละเอียดเเละก็หลายรอบมากเพื่อที่จะให้ทุกคนเข้าใจ

บรรยากาศ การทำงานกลุ่ม

ตั้งใจในการเขียนมากเพราะเพื่อนเขาเสร็จหมดเเล้ว

ปรึกษาหารือกัน
เพื่อนเสร็จเรียบร้อยก็ยิ้มกันออก

อาจารย์ได้ชี้เเจงภายในคาบเรียน

 - อาจารย์เข้ามาในห้องเเล้วก็ได้พูดถึงการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีของคณะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อเราในการที่เราจะออกไปฝึกสอนในอนาคต

- อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของเอกสารประกอบการเรียน การสอนของรายวิชานี้ที่ต้องไปเอาที่ร้านถ่ายเอกสารพี่บอยเเล้วให้เช็คชื่อกับพี่บอย เเล้วเอามาเช็คชื่อกับอาจารย์ เพื่อที่รายชื่อทั้ง 2 ที่นั้นจะได้ตรงกันแล้วจะได้ไปเบิกค่าอุปกรณ์การเรียนมาให้เราคืน

- หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เปิดรายชื่อนักศึกษาที่ต้องไปซ่อมในการอบรมบุคลิกภาพต้องมาซ่อมในวันที่ 28 พ.ค. 2555  เวลา 13.00น. 

การเรียน การสอน

- อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 คน แล้วให้ยกโต๊ะหันหน้าเข้าหากัน ห้ามลากโต๊ะเพราะจะทำให้เกิดเสียงดัง หลังจากนั้นอาจารย์ให้คนในกลุ่ม 1 คน ลุกขึ้นเเละย้ายไปอยู่กลุ่มอื่น และก็ให้เพื่อนอีกคนที่ 2ย้ายไปอยู่อีกกลุ่มอื่นบ้าง อาจารย์ทำอย่างนี้เพราะว่าต้องการที่จะให้นักศึกษาได้รู้จักกันมากเพิ่มขึ้นไม่ใช่ว่ารู้จักกันเเต่ภายในกลุ่มตัวเองยังไงเราก็อยู่ในเอกเดียวกันทุกคนเป็นเพื่อนกันหมด 

- หลังจากนั้นอาจารย็ก็ได้ให้นำงานที่อาจารย์สั่งเมื่ออาทิตย์ที่เเล้วขึ้นมา คือมีงานตามหัวข้อนี้
  • ชื่อหนังสือคณิตศาสตร์
  • ความหมายของคณิตศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
  • การสอนหรือการจัดประสบการณ์
  • ขอบข่าย/ขอบเขตของวิชาคณิตศาสตร์ 
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์    
- จากนั้นอาจารย์ก็ให้นำข้อมูลที่ทั้ง3 คนหามาได้นั้นมารวบรวมักนแล้วสกัดมาเป็นเนื้อหาเดียวเท่านั้น ก็ให้เเยกตามหัวข้อนี้
  • ความหมายของคณิตศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
  • การสอนหรือการจัดประสบการณ์
  • ขอบข่าย/ขอบเขตของวิชาคณิตศาสตร์   
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์
- อาจารย์ได้เเจกกระดาษที่ต้องเขียนส่งอาจารย์กลุ่มละ 1 แผ่น เเละเเจกกระดาษที่ต้องร่างเนื้อหาก่อนเขียนซึ่งเป็นกระดาษที่เอามาใช้ซ้ำ

งานที่่กลุ่มของเราสรุปได้


1.ความหมายของคณิตศาสตร์
   
    คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เราไม่คุ้นเคย เราจึงจะต้องหาโอกาสค้นคว้าเพิ่มเติมและใส่ใจ ปฎิบัติแก้โจทย์ปัญหาเป็นประจำอยู่เสมอๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจในวิชานี้ ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า การคิดการคำนวณ ตัวเลข จำนวน การบวก การลบ การคูณ การหาร ระยะทาง เวลา ความเร็ว รวมทั้งรูปทรงต่างๆ ทางเรขาคณิต และการเเก้โจทย์ปัญหาต่างๆเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

อ้างอิงโดย   1.ศิวพร เชษฐธง, หลักการคณิตศาตร์, 8, 2535
                  2.เทะสึยะ คุรึยะ เเต่ง ธนารักษ์ ธีระมั่นคง แปล, ฝึกคิด คณิตเเบบใหม่, 7, 2554
                  3.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, เอกสารการสอน ชุดวิชาการสอนคณิตศาสตร์
                    เล่ม 1, 34, 2526


2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
     
                                                                       จัดทำโดย นางสาวจารุวรรณ ม่วงมิตร
อ้างอิงโดย   1. กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, 1, 2524
                  2. สุววิทย์ คุณกิติเเละคณะ, คู่มือครูสอนคณิตศาสตร์ , 1, 2544
                  3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, เอกสารการสอน ชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ                                 
                   คณิตศาตร์, , 2537


3.การสอนหรือการจัดประสบการณ์
   
  เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การสอน รูปแบบนี้ต้องการที่จะให้ ครูเปลียนการสอนเเบบบรรยายมาใช้ในการสังเกต การเตรียมการของนักเรียนเเละการเตรียมกิจกรรม การเรียนการสอน ให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชา
   นักทฤษฎีชื่อ กานเย ได้แบ่งการเรัยนรู้ออกเป็น 8 ประเภท


                                                                                          จัดทำโดย นางสาวจารุวรรณ ม่วงมิตร

อ้างอิงโดย   1. ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล, สอนสนุกสร้างสุขสไตล์สาธิต(ปทุมวัน), 234,2550
                       2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, เอกสารการสอน ชุดวิชาการสอนคณิตศาสตร์


                    เล่ม 1, 170, 2526
                  3. กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, 2, 2540


4.ขอบข่าย/ขอบเขตของวิชาคณิตศาสตร์   


                                                                  จัดทำโดย นางสาวจารุวรรร ม่วงมิตร


อ้างอิงโดย  1. กระทรวงศึกษาธิการ, สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,                                                                               5, 2535
                 2. กรมการฝึกหัดครูสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน, เอกสารประกอบการอบรม                              
                    ครู
                 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, เอกสารการสอน ชุดวิชาการสอนคณิตศาสตร์
                    เล่ม 1, 50, 2526


5.หลักการสอนคณิตศาสตร์


                                                                                                                                   จัดทำโดย นางสาวจารุวรรณ ม่วงมิตร
        ผู้สอนอาจจะมีเนื้อหาการเรียน การสอนที่เป็นรูปธรรมมาประกอบการอธิบายหรือการบอกของผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

อ้างอิงโดย   1. ยุพิณ พิพิธกุล, การนิเทศการสอนคณิตศาสตร์, 122, 2544
                      2. สุวรรณ กาญจนมยูร, เทคนิคการใช้สื่อเเละเกมคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, 
                          3, 2551
                      3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, เอกสารการสอน ชุดวิชาการสอนคณิตศาสตร์
                    เล่ม 1, 134, 2526












- หลังจากที่ทำเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้ทุกกลุ่มลุกขึ้นอ่านกลุ่มละหัวข้อว่าได้อะไรกันบ้างกลุ่มไหนที่ยังไม่    เสร็จก็ให้ทำไปก่อน เเละกลุ่มเรายังไม่เสร็จเเต่อาจารย์ก็ให้ลุกขึ้นอ่านหัวข้อสุดท้าย
-  อาจารย์ห้ส่งงานที่เป็นงานส่วนตัวที่หากันมาเอง ส่วนงานกลุ่มให้เอาโพสขึ้นบล็อกตัวเอง












                                             

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่2

 การเข้าเรียนครั้งที่2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.

บรรยากาศในห้องเรียน


  ครั้งนี้เป็นการเข้าเรียนเป็นคาบที่ 2 เเล้ว อากาศไม่หนาวเลยน่าเรียนทำให้มีสมาธิในการเรียน เเต่ว่าตามตัว ตามหัวจะเปียกนิดหน่อยเพราะว่าวันนี้เรามีประชุมสาขาการศึกษาปฐมวัยที่หอประชุม พอประชุมเดินออกมาซึ่งฝนกำลังตกอยู่เเล้วเดินไปกินข้าวที่หอส้มตาเลยเปียก

การเรียน การสอน


  - เมื่อเดินเข้าห้องเรียนมาอาจารย์ได้เข้ามาก่อนเเล้ว อาจารย์ได้ให้เพื่อนมาเพิ่มลิ้งค์บล็อกเพื่ิอนก็เพิ่มได้ประมาณหนึ่งแล้วหลังจากนั้นหนูก็ได้มาเพิ่มต่อจนเกือบเสร็จทุกคนแล้ว เเละในเวลาเดียวกันนั้นอาจารย์ก็ได้เอากระดาษให้เช็คชื่อเอง
  - หลังจากนั้นอาจารย็ก็ได้เเจกกระดาษคนละเเผ่น แล้วให้เขียนคำว่าคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์ และเด็กปฐมวัย เป็นภาษาอังกฤษ  ห้ามดูเพื่อน หรือเปิดดูจากที่อื่นให้คิดเองถ้ามีความซื่อสัตย์พอ

ภาพข้างบนนี้คือสิ่งที่เขีนเอง
เเละก็ผิดทั้ง 3 คำ




เฉลยเเล้วนะ


คณิตศาสตร์  =  Mathematic
การจัดประสบการณ์  =  Experiences Management
และเด็กปฐมวัย = Early Childhood

- อาจารย์ให้ไปวิทยบริการเพื่อหาหนังสือคณิตศาสตร์ทั่วไปไม่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมก็ได้เเต่ถ้าหามาได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้ (งานที่ต้องส่งในัสปดาห์หน้า)

  1. หนังสือที่เอามาต้องนั้น ต้องมี ชื่อเรื่อง  ผู้เเต่ง  ปีพ.ศ. เลขหมู่หนังสือ 
  2. เอาความหมายของคำว่าคณิตศาสตร์ หากเป้นการคัดลองเอาเนื้อหาของใครมาก็จะต้องเขียนชื่อผู้เขียน ชื่อหนังสือ หน้า ไปเปิดดูที่บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง อย่างเช่น "สื่อการเรียน การสอนคณิตศาตร์ คือ ดอกไม้ หนังสือ สมุด ปากกา ฝาขวดน้ำ ถังขยะ ไม่กวาด ชอร์ก กระดาษตัดเป้นรูปเรขาคณิตแบบต่างๆที่มีสีต่างๆกันเป็นชุด"(สุภาพร ศรีบุริทร์, คู่มือครูเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 
  3. ให้หาจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของการสอนคณิศาสตร์
  4. ทฤษฎีการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
  5. ขอบข่าย/ขอบเขตทางคณิตศาสตร์
  6. หลักการสอนคณฺิตศาตร์
 -  และสุดท้ายอาจาย์ก็ได้เปิดดูบล็อกของเเต่ละคนว่ามีอะไรที่ต้องเเก้ไข เพิ่มเติมบ้างเเละพยายามทำเองหรือหากไม่เข้าใจก็ควรที่จะถามเพื่อนแต่อย่าคัดลอกของเพื่อนมาวาง
- อาจารย์เช็คชื่อทีละคนพร้อมกับตรวจเครื่องเเต่งกายไปด้วย


 ใจความสำคัญที่ได้จากการเข้าเรียนในครั้งนี้

  • เด็กมีการเเสดงออกถึงการใช้เหตุผล ที่เกิดจากการเชื่อมโยงความคิด
  • ตัวอย่างที่เหตุได้จากการใช้เหตุผลของเด็ก คือ การตักน้ำที่ปริมาณเท่ากันgmลงในเเก้วที่มีขนาดต่างกัน ใบที่ 1มีทรงสูง   ใบที่ 2 มีทรงเตี้ย  เเละเมื่อถามเด็กว่าใบไหนมีน้ำมาก เขาก็จะบอกว่าเเก้วใบที่1มีน้ำมากทั้งๆที่ตักน้ำที่เเก้วใบเดียวกัน แต่ว่า ถ้าเด็กที่มีเหตุผลในการตอบเด็กก็จะตอบว่าน้ำ 2 แก้วนี้มีปริมาณเท่ากัน เพราะว่าใช้เเก้วใบเดียวกันตักน้ำมาเทในแก้วทั้ง 2 ใบ 
  • ของเล่นที่เป็นของจริง เป้นสื่อ 3 มิติอย่างหนึ่ง
  • ประสบการณ์เดิม+ประสบการณ์ใหม่ เด็กเกิดการรับรู้เเละทำให้เขามีการเรียนรู้
  • คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอย่าให้เด็กมีอคติต่อคณิตศาสตร์
  • คนที่อยู่ในห้องเรียนต้องมีการนับจนทำให้รู้จำนวน จำนวนก็คือ ค่า ส่วนตัวเลขคือสิ่งที่กำกับหรือเเทนค่าโดยเป็นใช้ตัวเลขฮินดูอาราบิค


วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่1

 การเข้าเรียนครั้งที่1


วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
เวลาเรียน 14.10 - 17.30น.

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้เป็นการเข้าเรียนในรายวิชานี้เป็นครั้งเเรกเเต่เคยเรียนกับอาจารย์เเล้วในเทอมที่เเล้ว อาจารย์ยังเป็นเหมือนเดิมทั้งเรื่องการเเต่งกายที่เรียบร้อย รุปแบบการเรียนการสอนที่ต้องการให้นักศึกษาคิดด้วยตนเองด้วยการกระต้นความคคิดจากคำถาม อาจารย์พูดเสียงดังเพื่อไม่ต้องการให้นักศึกษาง่วงนอน ในทุกครั้งที่มีการร่วมกันเเสดงความคิดเห็นทุกคนก็เเย่งกันตอบอย่างรวดเร็วไม่ว่าความคิดยั้ยจะถูกหรือผิดอาจาย์ก็ไม่ว่า และอีกอย่างที่ยังคงเหมือนเดิมคืออากาศที่เย็นมากจนบางครั้งทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน

การเรียน การสอน

- อาจารย์เเจกกระดาษให้ตัวเองเช็คชื่อเสร็จแล้วส่งให้อาจารย์ เเล้วอาจารย์ก็ขีดเส้นใต้คั่นไว้ เเล้วคนที่มาทีหลังก็เเสดงว่ามาสาย
- อาจารย์ให้เเจกกระดาษคนละแผ่นแต่ยังไม่บอกว่าจะให้ทำอะไร
-  จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนเเสดงความคิดเห็นว่าวิชาที่เคยเรียนในภาคเรียนที่เเล้วคือวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความเเต่งต่างกันอย่างไรบ้าง
- อาจารย์ได้อธิบายถึงเหตุผลของการได้เกรดเเต่ละเกรดว่ามีความเหตุผลใดที่ได้เกรดนั้นอย่าง
 เช่น ติด I เพราะว่าไม่มีเนื่้อหา รายละเอียดในบล็อก ตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการทั้งๆที่ก็เเจกรายละเอียดที่ต้องการนั้นให้ดูเเล้วแต่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใดเลย บทความ งานวิจัยที่ได้มาบางครั้งก็มีการคัดลอกกันมา หรือไม่มี เป็นต้น
- เครื่องเเต่งกายอาจารย์จะไม่ตักเตือนเเล้วเเต่จะหักคะเเนนทันทีที่ไม่เป็นระเบียบ
-อาจารย์พูดถึง การที่มีสมุดจดบันทึก เมื่อเรามีเราก็จดสิ่งที่เราเรียนได้จากวันนี้เเละนำข้อมูลที่ได้นี้ไปลงบล็อกได้อย่างละเอียด
- จากกระดาษที่อาจารย์เเจก ให้เขียนงาน 2 หัวข้อนี้
                            1. ให้เขียนความหมายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตาม                                            ความเข้าใจมา 2 ประโยค
                            2. ให้เขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชานี้
- อาจารย์ให้ร่วมกันตกลงว่างานบล็กนี้จะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำบล็อก หรือว่าเรียนเต็มกลับไปทำที่บ้าน ทุกคนบอกว่าปล่อยก่อน 40 นาที เเละอาจารย์ก็จะตรวจดูความคืบหน้าของบล็อกที่ทำทุกวันเสาร์ 17.00น.
- การวางเเผน พูดคุยกันถึงการเพิ่มเติมเวลาเรียนที่เราอาจจะมีไม่เพียงพอ และการเข้าพออาจารย์ที่ปรึกษาในอีก  3 สัปดาห์

อยากนำเสนอ
จัดทำโดย นางสาวจารุวรรณ  ม่วงมิตร







ใจความสำคัญที่ได้จากการเข้าเรียนในครั้งนี้

  • สิ่งที่เเตกต่างกันสำหรัวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ คำว่า ภาษา เเละคณิตศาสตร์
  • เมื่อเราทำอะไรบ่อยฟังเเล้วมีการคิดตาม จดบันทึก จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้
  • พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
  • การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • วุฒิภาวะ คือ ความสามารถในแต่ละช่วงวัย
  • ความพร้อม คือ ขั้นหนึ่งของลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ ซึ่งมีความเเต่งต่างกันระหว่างวุฒิภาวะ
  • กราฟิค คือ องค์ประกอบที่เกิดขึ้นจากลักษณะพื้นฐานของขององค์ประกอบศิลป์ เช่น เส้น จุด รูปทรง ฯลฯ นำมาประยุกต์ให้เกิดความแปกใหม่โดยอาศัยความเป็นรูปธรรมและนามธรรม เกิดเป็นภาพที่แปลกตา อาจใช้คอมพิวเตอร์หรือการทำด้วยมือก็ได้
  • พัฒนาการทำให้เรารู้ความสามารถของเด็กและทำให้ตอบสนองความต้องการของเด็กได้
  • เด็กตอนที่เขาเกิดมา เขาไม่มีความรุ้อะไรติดตัวมาเลยในสมอง แต่สิ่งที่เขาพยายามหยิบ จับ ชิม ไขว่คว้า ร้องไห้ เป็นต้น เพราะเขาต้องาการที่จะมีประสบการณ์โดยที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 

เพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

เพียเจต์ได้เเบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ไว้ 4 ขั้น ซึ่งขั้นที่1 เเละขั้นที่2


ขั้นที่1 เเละขั้นที่2  ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย





ขั้นที่1...Sensorimotor (แรกเกิด - 2 ขวบ) เพียเจต์ เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่าง ละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย


ขั้นที่2...Preoperational (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็ก ก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้ หรือ มีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัย อนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้ หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้นเด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตามความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง  

                                                  ที่มาจาก  http://fws.cc/kruwit/index.php?topic=193.0