คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย



วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

งานวิจัยเรื่อง : ผลการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2                      โดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน
การศึกษาระดับ   บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้วิจัย บุญเรียน   แวดอุดม
บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย


ประเด็นที่คณิตศาสตร์ถือว่ามีบทบาทสําคัญต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์  เป็นเครื่องมือในการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  

ประเด็นที่2   คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นประสบการณ์ที่ครูจัดให้แก่เด็ก  ซึ่งนอกจากจะอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจําวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์แล้วยังต้องอาศัยการจัดกจิกรรมที่มีการวางแผนและเตรียมการอย่างดีจากครูด้วย 


ประเด็นที่3  การจัดการศกึษาระดับปฐมวัย  เป็นการจัดการศึกษาที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะ ช่วยส่งเสริมเดก็ปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับวัยและ การพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  สงัคม  และสติปัญญา

ประเด็นที่4 ปัจุบันการจดัการเรียนรู้อีกแนวคิดหนึ่งที่มคีวามสําคัญ  คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐาน

ประเด็นที่ 5 การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง  นับเป็นสิ่งสําคัญเป็นอย่างยิ่ง       เพื่อเด็กไทยจะได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  และเรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ เรียนการสอนของตนเอง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 1.  เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนบุาลปีที่  2  ที่ได้รับการจัด ประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 
 2.  เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 
 3.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจำของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ก่อนและหลัง       การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 
 4.  เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ได้แผนการจัดประสบการณ์ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิด      การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ที่มีประสิทธิภาพทําให้นักเรียน       มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่มีมีคุณภาพและเหมาะสมมากขึ้น 
 2.  เป็นแนวทางสําหรับครูผู้สอนอนุบาล  ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง                  ในการพัฒนาแผนการจัดประสบการณการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ  ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
 3.  ผลจากการศึกษาจะได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์  สำหรับครูผู้สอน  และผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ในการจดัประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย 

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย 
 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า   
3.1  การพัฒนากระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามแนวคดิสมองเป็นฐาน   
3.2  กระบวนการทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการจํา

นิยามศัพท์เฉพาะ


1.  ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง  ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์  ได้แก่ความสามารถเกี่ยวกับการสังเกต  การจําแนก  การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่  การเรียงลําดับ  การนับ  ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังต่อไปนี้  
           1.1  การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกได้ว่า สิ่งที่มองเห็นมีความเหมือนและ ความต่างกันอย่างไร   
           1.2  การจําแนก  หมายถึง  ความสามารถในการบอก ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มองเห็นว่า มีสแีละรูปทรง อะไรบ้าง   
           1.3  การเปรียบเทียบ  หมายถึง  ความสามารถในการบอกความเท่ากัน ไม่เท่ากัน ของ รูปร่าง รปูทรง ขนาด น้ําหนัก ความสูง ความต่ํา และมากกว่า น้อยกว่า   
           1.4  การจัดหมวดหมู่  หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัสดุอุปกรณ์ เช่น  สี  ขนาด รูปร่าง  ประเภทปริมาณ  น้ําหนัก  และจํานวน  เป็นต้น   
           1.5  การเรียงลําดับ  หมายถึง   ความสามารถในการเรียงวสัดุอุปกรณ์ต่าง ตามขนาด น้ําหนัก จํานวน  ความสูง  ความยาว เป็นต้น   
           1.6  การนับ  หมายถึง  ความสามารถในการนับเลข 1-10 รู้จักค่าจํานวนนับว่าเท่าไร
  
 2.  การจัดประสบการณ์ตามแนวคดิสมองเป็นฐาน  หมายถึง  การจัดประสบการณ์ที่ สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง  โดยจัดประสบการณให้เด็กได้ปฏิบัตจริง  มีความสุข และมีความหลากหลายในกจิกรรม  ให็เด็กเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง  โดยมีลําดับขั้น      การจัดประสบการณ์ 5  ขั้นตอน  ดังนี้   
          2.1  ขั้นเตรียมสมองสําหรับการเชอื่มโยงการเรียนรู้ (Preparation)   
          2.2  ขั้นเตรียมสมองเพื่อซึมซับข้อมูลใหม่ (Acquisition)   
          2.3  ขั้นเรียนรู้โดยการใช้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเพื่อสนับสนุนเชื่่อมโยงการเรียนรู้และ เพื่อตรวจสอบ
แก้ไขข้อมูลทผี่ิดพลาด 
         2.4  ขั้นการสร้างความจํา  (Memory Formation)     
         2.5  ขั้นประยกุต์ข้อมูลเดิมมาใช้กับสถานการณ์ใหม่  (Functional Integration)    3.  ความสามารถในการจํา  หมายถึง ความสามารถ หรือพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ที่ สามารถเก็บข้อมูล  ระลึกได้ และสามารถนําย้อนกลับมาใช้ได้เมื่อมีความต้องการ

สมมุติฐานการวิจัย

  1.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่  2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์  ตามแนวคดิสมองเป็นฐาน              มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สงูกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์  
2.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีความสามารถในการจําสูงกว่ากก่อนได้รับการจัดประสบการณ์

บทที่  3

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชั้นอนุบาล 2ในกลุ่ม สตึก 5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4  จำนวน 157 คน จาก 10 โรงเรียน 10 ห้องเรียน        
กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ เด็กชั้นอนุบาล 2โรงเรียนบ้านหนองแวง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2552 จำนวน 27 คน
จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือทดลอง
1.แบบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์
2.แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน
3.แบบวัดความสามารถในการจำทางคณิตศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์ข้อมูล  ดังต่อไปนี้      
1.  วิเคราะห์ความพร้อมทางคณิตศาสตร์  ของนักเรียนชนั้อนุบาลปีที่  2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  โดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนก่อนและหลังจัดประสบการณ์ จํานวน  30  ข้อ                                                    
2.  เปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการจําของ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน โดยใช้สถิติ  The  Wilcoxon  Matched Pairs  Signed-Ranks  Test (ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน.    2550  :  86)   3.  วิเคราะห์ผลการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐานของนักเรียน ชนั้อนุบาล ปีที่  2  จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียน ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

สรุปผลการวิจัย


1. ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ  15.89  คิดเป็นร้อยละ  52.96  ค่าเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ  24.67  คิดเป็นร้อยละ  82.22  ของคะแนนการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์                 
โดยนักเรียนมีคะแนนหลังการจัดประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดประสบการณ์                                                     

 2.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน                   มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หลังจัดประสบการณ์สงูกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสําคัญ           ทางสถิติที่ระดับ .01    
3.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  มี ความสามารถในการจําสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์  
4.  ผลการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตรตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ซึ่งนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง   5  คือ  หู  ตา  จมูก  ลิ้น   และผิวกาย  ดว้ยวิธีการที่หลากหลายอันส่งผลต่อพัฒนาการของนักเรียน ทําให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง   4  ด้าน  ที่ดีขึ้น  คือ   มีร่างกายที่แข็งแรง  ทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ สามารถเคลื่อนไหวได้ อย่างคล่องแคล่ว  
นักเรยีนเรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน  ให้ความตั้งใจทํากจิกรรมเป็น อย่างดี นักเรียนสามารถสังเกต จําแนก  เปรียบเทียบ  จดัหมวดหมูู่  เรียงลําดับ  และนับจํานวนของ สิ่งของที่ครูกำหนดให้ได้และสามารถทํากิจกรรมรวมกันกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข

ข้อเสนอแนะ

1.  ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้  
      1.1  การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ ควรมีการฝึกประสบการณ์สำหรับเด็กอย่าง ต่อเนื่องเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน ทั้งนี้อาจมีการบูรณาการ เชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม   
      1.2  การนําไปใช้กับกลุ่มอื่นควรมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของ นักเรียนกลุ่มนั้น ๆ  ก่อนนําไปพัฒนา   
      1.3  ควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ อยากรู้ อยากเห็น โดยแทรกภาพการ์ตูน หรือภาพประกอบอื่นๆ   
2.  ข้อเสนอแนะในการนําไปศึกษาค้นคว้า  ครั้งต่อไป   
       2.1  ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  กับนักเรียน ระดับอื่นด้วย   
      2.2  ควรมีการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  กับตัวแปรที่เป็นทักษะอื่น เช่นทักษะการคิด และการแก้ปัญหา เป็นต้น   
      2.3  ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กับเนื้อหา อื่น ๆ    







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น