คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

เพลงคณิตศาสตร์


เพลงคณิตศาสตร์
เพลงคณิตศาสตร์…ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 


1.  มาร้องเพลงกันป่าม ป้าม ป่าม ปาม   ป่าม ปาม ปาม  ป่าม   ป้าม ปาม ปาม ๆ ๆ ๆ
มา ๆ ๆ ๆ ๆ มาเถิดเรามา มาร้องเพลงกัน  (เฮ !)  ลืมความทุกเร็วพลัน   สนุกสุขสันต์กันให้เต็มทรวง
เรียนคณิตวันนี้ไม่ควรมีความทุกข์ทั้งปวง  วิชาคณิตชื่นทรวงไม่หลอกไม่ลวงพาเราชื่นใจ  (ซ้ำอีกรอบ)


2.  ไปตลาดมีเงินอยู่  10  บาท ฉันไปตลาดไปซื้อของมา   ซื้อไป 3 บาทแล้วหนา ๆ  คงเหลือเงินตรามีค่า 7 บาท
มีเงินอยู่  17  บาท ฉันไปตลาดไปซื้อของมา   ซื้อไป 9 บาทแล้วหนา ๆ  คงเหลือเงินตรามีค่า 8 บาท
มีเงินอยู่  6  บาท ฉันไปตลาดไปขายของมา   ขายได้ 3 บาทแล้วหนา ๆ  คงได้เงินตรามีค่า 9 บาท
มีเงินอยู่  9  บาท ฉันไปตลาดไปขายของมา   ขายได้ 6 บาทแล้วหนา ๆ  คงได้เงินตรามีค่า 15 บาท


3.  บวกผลลัพธ์ไม่เกิน 5มีกา 2 ตัว กาบินมา 1 ตัว รวมมีกากี่ตัว รวมมีกา 3 ตัว
มีกา 3 ตัว กาบินมา 2 ตัว รวมมีกากี่ตัว รวมมีกา 5 ตัว
มีกา 2 ตัว กาบินมากี่ตัว รวมมีกา 5 ตัว กาบินมา 3 ตัว
มีกา 3 ตัว กาบินมากี่ตัว รวมมีกา 5 ตัว กาบินมา 2 ตัว
เดิมมีกากี่ตัว  กาบินมา 1 ตัว รวมมีกา 5 ตัว  เดิมมีกา 4 ตัว
เดิมมีกากี่ตัว  กาบินมา 4 ตัว รวมมีกา 5 ตัว  เดิมมีกา 1 ตัว
 4.  การลบมีแมวอยู่ 3 ตัว  เดินเข้าครัวแล้วเงียบหาย  ย่างปลา 5 ตัวไว้  เจ้าแมวตัวร้ายคาบไป 3 ตัว
คงเหลือปลาอีกกี่ตัว  คงเหลือปลาอีก 2 ตัว
มีแมวอยู่ 5 ตัว  เดินเข้าครัวแล้วเงียบหาย  ย่างปลา 10 ตัวไว้  เจ้าแมวตัวร้ายคาบไป 5 ตัว
คงเหลือปลาอีกกี่ตัว  คงเหลือปลาอีก 5 ตัว    (ซ้ำอีกรอบ)


5.  นับลดทีละสองไม้ 10 แผ่น ลอยไปลอยมา ลอยไปมาเหลือไม้ 8 แผ่น
ไม้ 8 แผ่น ลอยไปลอยมา ลอยไปมาเหลือไม้ 6 แผ่น
ไม้ 6 แผ่น ลอยไปลอยมา ลอยไปมาเหลือไม้ 4 แผ่น
ไม้ 4 แผ่น ลอยไปลอยมา ลอยไปมาเหลือไม้ 2 แผ่น
ไม้ 2 แผ่น ลอยไปลอยมา ลอยไปมาไม่เหลือซักแผ่น  (ซ้ำอีกรอบ)


6.  นับลดทีละสามผ้าเช็ดหน้า 9 ผืน ชื้นไปด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์หนักหนา เหลือมาเพียง 6 ผืน
ผ้าเช็ดหน้า 6 ผืน ชื้นไปด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์หนักหนา เหลือมาเพียง 3 ผืน
ผ้าเช็ดหน้า 3 ผืน ชื้นไปด้วยน้ำตา ใจอาวรณ์หนักหนา ไม่เหลือมาเลยซักผืน  (ซ้ำอีกรอบ)


7.  ความหมายการคูณ 16 × 5  ๆ  ขอบอกคุณว่า เอา5 บวกกัน 6 ตัว  แต่  5 × 6  นั้นเอา 6 ห้าตัว บวกกันถ้วนทั่ว เอา 6 ห้าตัวบวกกันเอย


 8.  ความหมายการคูณ 25 เอย  5 ×  3 ขอบอกคนงาม มี 3 บวกกัน 5 ตัว  3 ×  5  นั้นมี 5 สามตัว  บวกกันถ้วนทั่ว  หนูอย่ากลัวลองทำ
แม้นหนูจะคูณเมื่อไหร่  ขอโปรดจำไว้บวกซ้ำ ๆ ควรจำ อยากคูณให้เร็วนั้นไม่ยากล้ำ  ท่องสูตรคูณประจำทุกค่ำเช้าเอย


9.  ความหมายการคูณ 3            6 + 6 + 6 + 6  บวกแล้วได้  24    6 รวมกัน 4 ที  4 ครั้ง คือ  4 ×  6   (ซ้ำอีก 4 รอบ)
10.  การหาร
หาร หาร หาร หนูรู้การหารหรือไม่  ตัวหารลบออกเรื่อยไป  จนหมดตัวตั้งที่ให้ไว้ ๆ  จำนวนครั้งที่ลบได้ผลหารเอย
หาร หาร หาร   หารมันไม่ยากเท่าไร  ส่วนกลับของคูณนั่นไง  เช่น 2 ×  5  เป็น 10  ไซร้ ๆ  2 ไปหาร 10 ได้ 5  (ซ้ำอีกรอบ)


11.  นับขาลูกเป็ดตัวน้อย ๆ  เดินชดช้อยช่างน่ารัก  3 ตัวนั้นเข้ามาทัก  ๆ  ฉันอยากรู้นักว่ามีกี่ขา ฉันอยากบอกนักว่ามี 6 ขา
ลูกเป็ดตัวน้อย ๆ  เดินชดช้อยช่างน่ารัก  12 ขาเดินเข้ามาทัก  ๆ  ฉันอยากรู้นักว่ามีกี่ตัว ฉันอยากบอกนักว่ามี 6 ตัว
ลูกเป็ดตัวน้อย ๆ  เดินชดช้อยช่างน่ารัก  6 ตัวนั้นเข้ามาทัก  ๆ  ฉันอยากรู้นักว่ามีกี่ขา ฉันอยากบอกนักว่ามี 12 ขา
ลูกเป็ดตัวน้อย ๆ  เดินชดช้อยช่างน่ารัก  6 ขาเดินเข้ามาทัก  ๆ  ฉันอยากรู้นักว่ามีกี่ตัว ฉันอยากบอกนักว่ามี 3 ตัว


12.  นับน้อยหน่ามานีนั่งขายน้อยหน่า อย่ามัวช้ารีบมาจอง กองละ 3 ผล รสดีน่าลอง ชูใจนั้นเฝ้าตรึกตรอง 2 กองนั้นมีกี่ผล
2 กองนั้นมี 6 ผล
มานีนั่งขายน้อยหน่า อย่ามัวช้ารีบมาจอง กองละ 3 ผล รสดีน่าลอง ชูใจนั้นเฝ้าตรึกตรอง 6 กองนั้นมีกี่ผล
6 กองนั้นมี 18 ผล
มานีนั่งขายน้อยหน่า อย่ามัวช้ารีบมาจอง กองละ 3 ผล รสดีเหลือทน  ปรีชานั้นเฝ้าฝึกฝน  6 ผลซักมีกี่กอง
6 ผลนั้นมี 2 กอง
มานีนั่งขายน้อยหน่า อย่ามัวช้ารีบมาจอง กองละ 3 ผล รสดีเหลือทน  ปรีชานั้นเฝ้าฝึกฝน  12 ผลซักมีกี่กอง
12 ผลนั้นมี 4 กอง


13.  แบ่งมะม่วงมะม่วง 15 ผล แบ่งน้อง 3 คน  คนละเท่ากัน     คิดแบ่งได้เร็วพลัน ๆ  คนหนึ่งนั้นจะได้กี่ผล  คนหนึ่งนั้นจะได้ 5 ผล
มะม่วง 20 ผล แบ่งน้อง 5 คน  คนละเท่ากัน     คิดแบ่งได้เร็วพลัน ๆ  คนหนึ่งนั้นจะได้กี่ผล  คนหนึ่งนั้นจะได้ 4 ผล
มะม่วง 12  ผล แบ่งน้องกี่คน  ได้คนละ  4  ผล     คิดแบ่งได้เร็วพลัน ๆ  แบ่งน้องนั้นจะได้กี่คน  แบ่งน้องนั้นจะได้ 3 คน
มะม่วง 20  ผล แบ่งน้องกี่คน  ได้คนละ  4  ผล     คิดแบ่งได้เร็วพลัน ๆ  แบ่งน้องนั้นจะได้กี่คน  แบ่งน้องนั้นจะได้ 5 คน
มะม่วงมีกี่ผล  แบ่งน้อง 3 คน ได้คนละ 6  ผล  คิดแบ่งได้เร็วพลัน ๆ  มะม่วงนั้นมีกี่ผล มะม่วงนั้นมี  18 ผล
มะม่วงมีกี่ผล  แบ่งน้อง 2 คน ได้คนละ 10  ผล  คิดแบ่งได้เร็วพลัน ๆ  มะม่วงนั้นมีกี่ผล มะม่วงนั้นมี  20 ผล


14.  มุม (1)สังเกตและดูให้ดี มุมนั้นมีมากมายนานา    อันว่ามุมฉาก 90 องศา ๆ   มุมแหลมนั้นเล็กกว่ามุมฉาก ๆ
กว้างกว่า 90 องศา (ชะ)  เรียกว่ามุมป้านหนูจ๋า (ชะ)  มุมตรงอย่าสงกา  180 องศา เอิง เอย เอิง เอย  (ซ้ำอีกรอบ)


15.  สี่เหลี่ยมมุมฉาก (1)สี่เหลี่ยมมุมฉาก ๆ     เท่ากับ 4 มุมฉาก ๆ     ถ้าทุกด้านเท่าที  ๆ  เรียกสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๆ   ถ้าด้านติดกันไม่เท่ากัน  ๆ
เท่ากันแต่ด้านตรงข้าม ๆ   รูปนี้มีนาม ๆ  ว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๆ  พื้นนั้นหนาจำไว้แม่นนา   กว้างคูณยาวนา  ๆ  ละ ลา  ๆ ๆ ๆ ๆ


17.  สี่เหลี่ยมมุมฉาก (2)สี่เหลี่ยมผืนผ้าหนูเอยมาหาพื้นที่กันเว้ย  จงทำดังนี้   เอากว้างคูณยาวเข้าซี  คูณกันได้แล้วต้องมี  หน่วยของมัน
นะซิเป็นตารางออกมา  สี่เหลี่ยมอีกรูปก็คือจัตุรัส มันก็เหมือนกัน  แต่กว้างยาวนั้นมันเท่ากันเอย  แล้วรูปอื่นเชื่อครูดีกว่าทดลองหาพื้นที่ห้องเรียน  หาไม่ยากแม้เราพากเพียร  กว้างคูณยาวเขียนลงไปตอบเลย


18.  หน่วยการวัด(สร้อย)  พันเมตร ๆ  นั้นยาวเท่า1 กิโลเมตร     พันเมตร ๆ  นั้นยาวเท่า1 กิโลเมตร
10 มิลลิเมตรยาว 1 เซนติเมตร       100  เซนติเมตร  ยาวเท่า 1 เมตรหนา     1000 เมตรนั้นมีขอบเขตไกลตา
ยาว 1 กิโลเมตรนาพวกเรามาท่องจำให้ดี   (ซ้ำอีกรอบ)   (สร้อย)

19.  การชั่ง1 เมตริกตันนั้นมีค่า  1000  กิโลกรัม       1 กิโลกรัมมีค่าเท่า1000 กรัม  ๆ   ตำลึง 100 กรัมหนูจงจำมีค่า 1 ขีด
1 กิโลกรัมขอพูดย้ำมีค่า 10 ขีด  ๆ   ท่องกันวันละนิด 10 ขีดเป็น1 กิโลกรัม   (ซ้ำอีกรอบ)


20.  การตวงการตวงนั้น  ๆ   จำไว้ให้ขึ้นใจ   1,000 มิลลิลิตร ๆ  เป็น 1 ลิตรเข้าใจ  (ซ้ำ)
หากซื้อข้าว 1 ถัง  ได้ 20 ลิตรนอ   หากซื้อ 1 เกวียนหนอจะต้องขอมาร้อยถังเอย  (ซ้ำทั้งหมดอีกรอบ)


21.  สัปดาห์หนึ่งมี 7 วันสัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ
พฤหัส ศุกร์ เสาร์ สิ้นสุด โรงเรียนเราหยุดพักผ่อน 2 วัน  (ซ้ำ 4 รอบ)


22.  1 ปี มี 12 เดือนหนึ่งปีมี 12 เดือน ไม่อยากลืมเลือนท่องกันไว้ดีกว่า  มกรา กุมภา มีนา  เมษา  พฤษภา  มิถุนา
กรกฎา  สิงหา  กันยา  ตุลา  พฤศจิกา  ธันวาคม  (ซ้ำ 3 รอบ)


23.  มาตราเวลา60 วินาที เป็น 1 นาที       60 นาทีนี้คือ  1  ชั่วโมง       24  ชั่วโมงผ่านไปเป็น  1  วัน
ครบ 7 วันพลันรวมกันเป็น 1 สัปดาห์      30 วันนั้นเป็น 1 เดือน   แต่ในบางเดือนมีถึง 31 วัน
เดือนกุมภาพันธ์  28 วันพึงมี  นั้นครบ 4 ปี  เดือนนี้มี 29 วัน    12  เดือนนั้นเป็น 1 ปี  นับดูอีกที 365 วัน
ปีที่กุมภาพันธ์มี 29 วัน  ต้องเพิ่มอีก 1 วัน  ในปีนั้นจึงจะถูกเอย   (ซ้ำอีกรอบ)


24.  ฝันอยากเป็นอะไรหนูจ๋าหนู  คิดดูให้ดีดี     อนาคตหนูจะสุขี  โตขึ้นหนูนี้จะเป็นอะไร
สมเดชอยากเป็นทหาร  ป้องกันอริราชศัตรู        ปรีชาอยากเป็นคุณครู   ให้ความรู้เด็ก ๆ ทั่วไป
วีระยุทธ อยากเป็นตำรวจ  วิ่งไล่กวดผู้ร้ายเร็วไว       สมวงษ์อยากเป็นอะไร  อ๋อ นึกได้เป็นพยาบาล
หนูจ๋าหนูต้องเรียนรู้ให้เชี่ยวชาญ       หนูจะต้องขยันหมั่นทำการบ้านมาส่งคุณครู


25.  อย่าทำเสียงดังหนูจ๋าอย่าทำเสียงดัง  ระมัดระวังกันไว้ซักหน่อย   พูดจากันให้ค่อยๆ  พูดเบา เบาหน่อยแต่พอได้ยิน
เว้นวะ เอะอะโวยวายมันน่าละอายใคร  เพราะใครเขาหมิ่น  อับอายเขาไปทั่วถิ่น ๆ  ใครเขาได้ยินเขาจะนินทา
หนู หนู รู้จักเกรงใจ ตะเบ็งเสียงไปไม่เห็นเข้าท่า   พูดเบา เบา เอาไว้ดีกว่า ๆ  น่ารักหนักหนามีมารยาทเอย


ที่มา http://krupraiwan.wordpress.com/2011/12/30/mathsong/















วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย



วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

งานวิจัยเรื่อง : ผลการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2                      โดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน
การศึกษาระดับ   บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้วิจัย บุญเรียน   แวดอุดม
บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย


ประเด็นที่คณิตศาสตร์ถือว่ามีบทบาทสําคัญต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์  เป็นเครื่องมือในการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  

ประเด็นที่2   คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นประสบการณ์ที่ครูจัดให้แก่เด็ก  ซึ่งนอกจากจะอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจําวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์แล้วยังต้องอาศัยการจัดกจิกรรมที่มีการวางแผนและเตรียมการอย่างดีจากครูด้วย 


ประเด็นที่3  การจัดการศกึษาระดับปฐมวัย  เป็นการจัดการศึกษาที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะ ช่วยส่งเสริมเดก็ปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับวัยและ การพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  สงัคม  และสติปัญญา

ประเด็นที่4 ปัจุบันการจดัการเรียนรู้อีกแนวคิดหนึ่งที่มคีวามสําคัญ  คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐาน

ประเด็นที่ 5 การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง  นับเป็นสิ่งสําคัญเป็นอย่างยิ่ง       เพื่อเด็กไทยจะได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  และเรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ เรียนการสอนของตนเอง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 1.  เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนบุาลปีที่  2  ที่ได้รับการจัด ประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 
 2.  เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 
 3.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจำของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ก่อนและหลัง       การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 
 4.  เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ได้แผนการจัดประสบการณ์ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิด      การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ที่มีประสิทธิภาพทําให้นักเรียน       มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่มีมีคุณภาพและเหมาะสมมากขึ้น 
 2.  เป็นแนวทางสําหรับครูผู้สอนอนุบาล  ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง                  ในการพัฒนาแผนการจัดประสบการณการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ  ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
 3.  ผลจากการศึกษาจะได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์  สำหรับครูผู้สอน  และผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ในการจดัประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย 

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย 
 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า   
3.1  การพัฒนากระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามแนวคดิสมองเป็นฐาน   
3.2  กระบวนการทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการจํา

นิยามศัพท์เฉพาะ


1.  ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง  ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์  ได้แก่ความสามารถเกี่ยวกับการสังเกต  การจําแนก  การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่  การเรียงลําดับ  การนับ  ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังต่อไปนี้  
           1.1  การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกได้ว่า สิ่งที่มองเห็นมีความเหมือนและ ความต่างกันอย่างไร   
           1.2  การจําแนก  หมายถึง  ความสามารถในการบอก ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มองเห็นว่า มีสแีละรูปทรง อะไรบ้าง   
           1.3  การเปรียบเทียบ  หมายถึง  ความสามารถในการบอกความเท่ากัน ไม่เท่ากัน ของ รูปร่าง รปูทรง ขนาด น้ําหนัก ความสูง ความต่ํา และมากกว่า น้อยกว่า   
           1.4  การจัดหมวดหมู่  หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัสดุอุปกรณ์ เช่น  สี  ขนาด รูปร่าง  ประเภทปริมาณ  น้ําหนัก  และจํานวน  เป็นต้น   
           1.5  การเรียงลําดับ  หมายถึง   ความสามารถในการเรียงวสัดุอุปกรณ์ต่าง ตามขนาด น้ําหนัก จํานวน  ความสูง  ความยาว เป็นต้น   
           1.6  การนับ  หมายถึง  ความสามารถในการนับเลข 1-10 รู้จักค่าจํานวนนับว่าเท่าไร
  
 2.  การจัดประสบการณ์ตามแนวคดิสมองเป็นฐาน  หมายถึง  การจัดประสบการณ์ที่ สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง  โดยจัดประสบการณให้เด็กได้ปฏิบัตจริง  มีความสุข และมีความหลากหลายในกจิกรรม  ให็เด็กเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง  โดยมีลําดับขั้น      การจัดประสบการณ์ 5  ขั้นตอน  ดังนี้   
          2.1  ขั้นเตรียมสมองสําหรับการเชอื่มโยงการเรียนรู้ (Preparation)   
          2.2  ขั้นเตรียมสมองเพื่อซึมซับข้อมูลใหม่ (Acquisition)   
          2.3  ขั้นเรียนรู้โดยการใช้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเพื่อสนับสนุนเชื่่อมโยงการเรียนรู้และ เพื่อตรวจสอบ
แก้ไขข้อมูลทผี่ิดพลาด 
         2.4  ขั้นการสร้างความจํา  (Memory Formation)     
         2.5  ขั้นประยกุต์ข้อมูลเดิมมาใช้กับสถานการณ์ใหม่  (Functional Integration)    3.  ความสามารถในการจํา  หมายถึง ความสามารถ หรือพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ที่ สามารถเก็บข้อมูล  ระลึกได้ และสามารถนําย้อนกลับมาใช้ได้เมื่อมีความต้องการ

สมมุติฐานการวิจัย

  1.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่  2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์  ตามแนวคดิสมองเป็นฐาน              มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สงูกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์  
2.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีความสามารถในการจําสูงกว่ากก่อนได้รับการจัดประสบการณ์

บทที่  3

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชั้นอนุบาล 2ในกลุ่ม สตึก 5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4  จำนวน 157 คน จาก 10 โรงเรียน 10 ห้องเรียน        
กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ เด็กชั้นอนุบาล 2โรงเรียนบ้านหนองแวง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2552 จำนวน 27 คน
จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือทดลอง
1.แบบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์
2.แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน
3.แบบวัดความสามารถในการจำทางคณิตศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์ข้อมูล  ดังต่อไปนี้      
1.  วิเคราะห์ความพร้อมทางคณิตศาสตร์  ของนักเรียนชนั้อนุบาลปีที่  2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  โดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนก่อนและหลังจัดประสบการณ์ จํานวน  30  ข้อ                                                    
2.  เปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการจําของ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน โดยใช้สถิติ  The  Wilcoxon  Matched Pairs  Signed-Ranks  Test (ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน.    2550  :  86)   3.  วิเคราะห์ผลการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐานของนักเรียน ชนั้อนุบาล ปีที่  2  จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียน ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

สรุปผลการวิจัย


1. ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ  15.89  คิดเป็นร้อยละ  52.96  ค่าเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ  24.67  คิดเป็นร้อยละ  82.22  ของคะแนนการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์                 
โดยนักเรียนมีคะแนนหลังการจัดประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดประสบการณ์                                                     

 2.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน                   มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หลังจัดประสบการณ์สงูกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสําคัญ           ทางสถิติที่ระดับ .01    
3.  นักเรียนชนั้อนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  มี ความสามารถในการจําสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์  
4.  ผลการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตรตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ซึ่งนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง   5  คือ  หู  ตา  จมูก  ลิ้น   และผิวกาย  ดว้ยวิธีการที่หลากหลายอันส่งผลต่อพัฒนาการของนักเรียน ทําให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง   4  ด้าน  ที่ดีขึ้น  คือ   มีร่างกายที่แข็งแรง  ทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ สามารถเคลื่อนไหวได้ อย่างคล่องแคล่ว  
นักเรยีนเรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน  ให้ความตั้งใจทํากจิกรรมเป็น อย่างดี นักเรียนสามารถสังเกต จําแนก  เปรียบเทียบ  จดัหมวดหมูู่  เรียงลําดับ  และนับจํานวนของ สิ่งของที่ครูกำหนดให้ได้และสามารถทํากิจกรรมรวมกันกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข

ข้อเสนอแนะ

1.  ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้  
      1.1  การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ ควรมีการฝึกประสบการณ์สำหรับเด็กอย่าง ต่อเนื่องเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน ทั้งนี้อาจมีการบูรณาการ เชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม   
      1.2  การนําไปใช้กับกลุ่มอื่นควรมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของ นักเรียนกลุ่มนั้น ๆ  ก่อนนําไปพัฒนา   
      1.3  ควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ อยากรู้ อยากเห็น โดยแทรกภาพการ์ตูน หรือภาพประกอบอื่นๆ   
2.  ข้อเสนอแนะในการนําไปศึกษาค้นคว้า  ครั้งต่อไป   
       2.1  ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  กับนักเรียน ระดับอื่นด้วย   
      2.2  ควรมีการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน  กับตัวแปรที่เป็นทักษะอื่น เช่นทักษะการคิด และการแก้ปัญหา เป็นต้น   
      2.3  ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์  ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กับเนื้อหา อื่น ๆ    







วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 16


การเข้าเรียนครั้งที่ 16



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.



บรรยากาศการเรียน
 
    วันนี้อาจารยืก็ได้เข้าสอนตามเวลาปกติ แต่ว่าเพื่อนเข้าห้องเรียนกันช้ามาก ทำให้อาจารย์ค่อนข้างที่จะไม่พอใจ เพราะว่าเรายังไม่ได้สาธิตการสอนตั้งหลายกลุ่ม เเต่อาจารย์ก็ไม่ได้พูดอะไรมาก เเละอาจารย์เขาก็ไม่รอ เขาก็เลยสอนก่อนไปเลย ถ้าเพื่อนมากครบกันเเล้วค่อยมาเริ่มสาธิตการสอนกัน
เเตอาจารยืก็ได้ถามหลายรอบมากว่าพอที่จะมีใครมาสาธิตก่อนไหม จะได้ไม่ต้องเสียเวลา จนในที่สุดไม่มีกลุ่มไหนออกมาสาธิตเเละกว่าเพื่อนจะมาครบกันทั้งหมดเวลาก็ล่วงเลยไปมาก เลยเหลือเพื่อนที่ยังไม่ได้มาสาธิตการสอนก็มี อาจารย์ก็ไม่ให้สาธิต เเต่ต้องเอาลงบล็อกตามเนื้อหาที่จะต้องสอนในเเต่ละวันตามที่จะสาธิต
 

การเรียน การสอน
 
  1. อาจารย์ได้เอารูปแบบการสอนคณิตศาสาตร์ที่ทำโดยเด็กปฐมมาให้ดู ตัวอย่างเช่น ส่วนประกอบของการทำข้าวผัด กราฟเเสดงนมรสชาติต่างที่เด็กชอบมาก ชอบน้อย เเละไม่ชอบ โดยที่ใช้กล่องนมที่เป็นของจริงมากำกับเเทนการเขียนตัวอักษร  อาหารที่มีส่วนประกอบของนม อย่างเช่น ขนมเค้ก ช็อกโกเเลต ขนมไข่ ขนมปัง โดนัด ที่เเตกเเมพออกมาเป็นรูปภาพอย่างชัดเจน
  2. การสร้างงานศิลปะให้เป็นคณิตศาสตร์ อย่างเช่นเอาก้านธูปมาต่อกันให้เป็นรูปต่างๆ เช่น     สาม          เหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทำให้เด้กได้รู้จักว่าการที่จะเป็นรูปสามเหลืี่ยมนั้นจะต้องใช้ไม้ต่อกัน 3 ชิ้น เป็นต้น การวาดลาวลายประกอบกันให้เป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการเด็ก ซึ่งเด็กทำออกมาได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. พอเพื่อนมาหมดเเล้วอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆออกไปนำสาธิตการสอนเลย เพื่อนทำใน
 
หน่วย สับปะรด
 

 

 
 
 
 
4.  ในหน่วยต่อไปที่เพื่อนออกมาสาธิตคือ
หน่วย ข้าว
 
 

 
 
เเสดงความคิดเห็น
 
 เพื่อนที่ออกไปสาธิตการสอนในวันนี้หรือที่ผ่านมา เพื่อนทุกคนต่างเตรียมอุปกรณ์ สื่อการสอน ในเเต่ละหน่วยของตัวเองอย่างพร้อมเพรียง เเต่ถึงเเม้การสอนในเเต่ละวันของทั้งเราเเละเพื่อนๆจะยังไม่ถูกต้อง พวกเราก็ตั้งใจเอาคำเเนะนำของอาจารย์ไปเเก้ไข เเละสามารถนำคำสอน คำเเนะนำต่างๆนี้ไปใช้ในอนาคตก็ได้
 
 
 
   









 

 



 

 










วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 15








การเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


บรรยากาศในการเรียน การสอน

วันนี้มีการสาธิตการเรียน การสอน คณิตศาสตร์ ซึ่่งเพื่อนๆเเต่ละกุล่มเดินเข้าห้องมา ถืออุปกรณมาอย่างพะรุงพะรัง เพื่อจะเอามาสาธิตการสอนในครั้งนี้ รวมทั้งกลุ่มเราด้วย ระหว่างการสาธิตค่อนข้างทีจะเครียดเพราะว่าพวกเราค่อนข้างไม่มีทักษะในการพูดเรียงลำดับการสอนเลยเเต่ยังไงเราก็ต้องสอนทั้ง5วันนี้ให้สำเร็จไปด้วยดี มีทั้งพูดถูก พูดผิด ทั้งโดนอาจารย์ตำหนิ บางครั้งก็ทำให้อาจารย์หัวเราะในความไม่รู้ของเรา พวกเราช่วยกันจนการสาธิตการสอนในครั้งนี้ผ่านพ้นไปด้วยดี


การเรียน การสอน

  1. วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษามาสาธิตการสอนคณิตศาสตร์โดยที่ให้เเต่ละกลุ่มออกมาสาธิตเลย กลุ่มเเรกที่ออกไปคือในหน่วย เรื่องไข่ ซึ่งกลุ่มนี้เพื่อนเข้าใจผิดว่าการสอนที่เราทำมา 5 วัน เเต่ให้เลือกมาสอนเเค่2-3 วัน อาจารย์เลยอธิบายให้ฟังว่าให้สอนทุกวันเเละเเบ่งกันมาสอน เพียงวันละคน กลุ่มเเรกเลยหยุดการสอนก่อน เพื่อไปเตรียมตัวใหม่
  2. กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มเรา สอนในเรื่องของ ผลไม้ กลุ่มเราขณะที่สาธิตการสอนนั้นก็ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พูดเรียงลำดับยังไม่ได้ เเต่สิ่งที่เราคิดว่าเราดีมากคือ การเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเเละพร้อมที่จะนำเสนอที่สุด
  3. วันนี้มีเพียง 2 กลุ่มเท่านั้นที่มานำเสนอเเต่ก็หมดเวลาเเล้ว เเต่ในความเป็นจริงแล้วต้องสอนเเค่ประมาณ 20 นาที เพราะว่าเด็กสมาธิความสนใจไม่มีมากเท่าไหร่นัก
  4. ในวันนี้ก็ยังมีเพื่อนที่คอยทยอยส่งงานทั้งที่บางงานก็หมดเวลาส่งเเล้ว เเละเป็นงานที่อาจารย์ส่งนานเเล้ว
  5. ส่วนในสัปดาห์ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือเตรียมสาธิตการสอนมาและอย่าลืมอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมมาประกอบกับการสาธิตการสอนของเราด้วย

ความคิดเห็น


       การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากมา เพราะว่าเรายังไม่มีประสบการณ์การสอนมาก่อนเเล้ว เลยมีพูดผิด พูดถูก บ้าง เเต่สิ่งที่เราเข้าใจเเละสามารถทำได้ค่อนข้างดีคือ การออกเเบบสื่อ อุปกรณ์ ในการสอน



เเมพมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์



จัดทำโดย นางสาวจารุวรรณ ม่วงมิตร


รูปภาพประกอบการสาธิต การสอน 
หน่วย ผลไม้


เรามาเริ่นต้นสอนกันเลย
อาจารย์ก็นั่งตั้งใจดูเราสอน
เราสาธิตการสอนไม่เป็นอาจารย์จัดการเอง
อาจารย์อธิบาย เพื่อที่จะให้เราเข้าใจ
เริ่มสอนกันใหม่อีกรอบ

อาจารย์กำลังจะทับกล้วย

ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
อาจารย์โชว์กล้วยที่ทับ




สำเร็จเเล้วในการสาธิตการสอนวันนี้ เจ๋งมาก
ในที่สุดสาธิตการสอนวันนี้ก็ผ่านพ้นไปด้วยดี ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอีกเยอะ 
























วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 14


การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.






ไม่มีการเรียน การสอน เพราว่าอาจารย์ติดธุระ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 13

การเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

   วันนี่ในห้องเรียนทุกๆคนเรียนอย่างมีความสุข ต่างก็มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นในห้องเรียนขณะที่อาจารย์ถาม เเต่ก็ยังบางส่วนที่คุยกันบ้างเหมือนปกติ การเข้าเรียนก็ไม่ตรงเวลาซักเท่าไหร่ อากาศในห้องเรียนก็หนาวมาก เเต่อาจารย์ร้อนก็เลยปิดเเอร์ไม่ได้ เราก็ต้องสลับกันเปิด กันปิด จะได้ไม่ต้องหนาวมากเท่าไหร่ แต่เวลาที่หนาวก็ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน


การเรียน การสอน

  • อาจารย์ให้เอางานมาส่งซึงเป็นงานที่เอาไปเเก้ไขตั้งเเต่อาทิตย์ที่เเล้ว บางกลุ่มก็เปลี่ยนเป็นเรื่องอื่นอย่างเช่นกลุ่มเราเปลี่ยนจาก เรื่อง กล้วย เป็นเรื่องที่กว้างกว่าเดิม คือเรื่อง ผลไม้
  •  อาจารย์เเละนักศึกษาร่วมกันเเตกแมพในเรื่องของ มาตรฐานคณิตศาสตร์ 
  • อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอน  จากเรื่องที่เราทำมา เเต่นักศึกษาบอกว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ยังให้ไปเเก้ไขงานก่อน แต่อยาพึ่งมาสาธิตการสอน ดังนั้น อาจารย์ก็บอกว่างั้นเราก็ไปเตรียมการสอนมาก่อน สัปดาห์อาจารย์ติดธุระมีเวลาไปซ้อมมา เเล้วมาสาธฺตวันที่เราเจอกัน
  • อาจารย์ได้ทำตารางเเสดงข้อมูลเรื่องไข่
  • อาจารย์เเละนักศึกษาได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ได้มาจากตารางเป็นเเผนภูมิวงกลม

องค์ความรู้ใหม่
  • จำนวนหมายถึงปริมาตร
  • นิทานจะสอนในเรื่องของคณิตศาสตร์ก็ได้จะอยู่ในเรื่องของการบอกตำเเหน่ง ทิศทาง
  • การสอนเเต่ละอย่างจะต้องให้เด็กมี Conceap ในเรื่องนั้นๆ
  • ถ้าจะมีการเเบ่งครึ่งของทั้งหมดในตะกร้า สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เหมือนกัน
งานที่ได้รับมอบหมาย
  • ให้ไปซ้อมสาธิตการสอนมา เตรียมอุปกรณ์ พร้อมสอนในสัปดาห์ที่เจอกัน
  • ให้ไปทำMap มาในเรื่องของมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้งหมด 5 มาตรฐาน

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 12

การเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.

บรรยากาศในการเรียน การสอน    
       วันนี้คนมาเรียนน้อยมากกว่าทุกๆวัน เลยทำให้ดูเงียบกว่าปกติ แปลกตาจนอาจารย์ถามว่าเพื่อนๆไปไหนกันหมด เเต่พออาจารย์สอนไปได้ซักพักหนึ่ง เพื่อนๆก็พากันทยอยเดินเข้าห้องเรียนมาเรียนกัน ทำให้บางครั้งไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนซักเท่าไหร่

การเรียน การสอน
       
  •  อาจารย์บอกให้นักศึกษาเเต่ละกลุ่มว่ามีงานอะไรมาให้ดูบ้างไหม ให้เอางานมาให้ดูทุกอย่างเลยที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำ
  • งานที่นักศึกษาเอามาส่งนั้น เป็นงานที่ให้ไปทำมาตั้งเเต่ในสัปดาห์ที่เเล้ว คือการไปทำเเมพหน่วยการเรียนรู้มาจะเอาเรื่องอะไรก็ได้
  • อาจารย์ต้องการให้นักศึกษาทำตามเเบบเท่านั้น
  • เเละกลุ่มเราจะต้องทำมาส่งใหม่เพราะมันผิด

องค์ความรู้ใหม่

  • การเป็นครูไม่ใช่การไปอาบน้ำทาแป้งให้เด็ก เเต่ครูจะต้องสรรหากิจกรรมต่างๆที่มาจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
  • ครูจะต้องเป็นเเบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
  • สิ่งที่เด็กอยากรู้มีมากมาย เเต่ครูควรที่จะคิดถึงลำดับความสำคัญที่ต้องการให้เด็กรู้
เเสดงความคิดเห็น

  • การเข้าเรียนนักศึกษาควรที่จะเข้าเรียนให้ตรงเวลาไม่ใช่ว่าอยากจะเข้าตอนไหนก็เข้าได้กฎระเบียบของการเข้าเรียนก็มีนักศึกษาควรที่จะให้เกียรตฺครูผู้สอนด้วย เเละเป็นการทำลายสมาธิของเพื่อนขณะที่เพื่อนกำลังเรียนอยู่
  • งานที่นักศึกษาทำมามีทั้งถูกต้องเเละไม่ถูกต้องเเละกลุ่มของพวกเราพร้อมที่จะนำไปเเก้ไขปรับปรุง